สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 2-8 ตุลาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของ
ต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 4.279 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 16.61 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูลเบื้องต้น ณ เดือนกันยายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.760 ล้านไร่ ผลผลิต 4.787 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 617 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 34.72 ร้อยละ 38.01 และร้อยละ 5.08 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่า ปี 2566 ทำให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 3.039 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 63.49 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,040 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,078 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,238 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,268 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,750 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,050 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91  
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน                                          
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,402 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 870 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,465 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,926 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 608 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 63 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,816 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 605 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,880 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 64 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.7276 บาท
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) มาเลเซีย
กระทรวงเกษตรมาเลเซียมีแถลงการณ์ว่า รัฐบาลประกาศมาตรการอุดหนุนราคาข้าวขาวนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ราคาตันละ 950 ริงกิต (ประมาณตันละ 7,324 บาท) เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2566 โดยจัดสรรงบประมาณให้รัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์ เพื่อบรรเทาภาวะราคาข้าวในประเทศที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่ประชาชนอย่างมาก โดยรัฐบาลเตรียมจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของรัฐหลายแห่ง เช่น ค่ายทหาร สำนักงานตำรวจ และกิจการหอพักของสถาบันการศึกษาสังกัดภาครัฐ เพื่อนำไปซื้อข้าวขาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะช่วยราคาข้าวที่ผลิตในประเทศให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ทั้งนี้ ราคาข้าวนำเข้าของมาเลเซีย เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2566 กิโลกรัมละ 6.40 ริงกิต (ประมาณกิโลกรัมละ 49.34 บาท) เพิ่มขึ้นจากราคาปกติที่กิโลกรัมละ 4.80 ริงกิต (ประมาณกิโลกรัมละ 37.01 บาท) ขณะที่ราคาข้าวขาวที่ผลิตในประเทศกิโลกรัมละ 2.60 ริงกิต (ประมาณกิโลกรัมละ 20.04 บาท)
ที่มา เดลินิวส์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิต เท่ากับ 7.7095 บาท
2) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประกาศยกเลิกมาตรการกำหนดเพดานราคาข้าวที่จำหน่ายในประเทศ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 หลังจากที่ออกมาตรการกำหนดเพดานราคาข้าวขาว ไม่เกินกิโลกรัมละ 41 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณกิโลกรัมละ 26.83 บาท) และข้าวขาวคุณภาพดีกิโลกรัมละ 45 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณกิโลกรัมละ 29.44 บาท) โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566
นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์อนุมัติการนำเข้าข้าว 3.9 ล้านตัน ในช่วงเดือนมกราคม 2565 - ธันวาคม 2566 ซึ่งปีนี้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวมากที่สุดในโลก แทนที่จีนที่เคยครองสถิตินำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งแต่ปี 2562 ได้อนุมัติการนำเข้าข้าว 3.5 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากไทยและเวียดนามมากที่สุด
ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์เตรียมจัดสรรงบประมาณ 12,700 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 8,309.61 ล้านบาท) เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในประเทศประมาณ 2.3 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นเจ้าของที่นาไม่เกิน 2 เฮกตาร์ (ประมาณ 12.5 ไร่) จะได้รับการช่วยเหลือรายละ 5,000 เปโซฟิลิปปินส์ (ประมาณ 3,272.50 บาท) โดยแหล่งงบประมาณมาจากอัตราภาษีส่วนเกินที่เก็บจากการนำเข้าข้าวเมื่อปี 2565
ที่มา เดลินิวส์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 เปโซฟิลิปปินส์ เท่ากับ 0.6543 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.52 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.38
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.94 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,114.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,089.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 25.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 490.00 เซนต์ (7,168.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 482.00 เซนต์ (6,940.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.66 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 228.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย และฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.94 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.62
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.96 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.11
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.60 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.60 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 280.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,350 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,090 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.08
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,850 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,550 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.343 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.242 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกันยายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 2.89 และร้อยละ 2.81 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.44 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.10 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 29.77 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 29.03 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.55
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ณ สิ้นเดือนกันยายน มีปริมาณสูงขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของปริมาณการผลิต โดยสูงขึ้นจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 12.05 อยู่ที่ 2.38 ล้านตัน และปริมาณส่งออกสูงขึ้นร้อยละ 8.04 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน ขณะที่ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่อย่างอินเดีย มีปริมาณการนำเข้าลดลงในเดือนกันยายน ร้อยละ 26 เนื่องจากมีปริมาณสต็อกอยู่ในระดับสูง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,608.55 ริงกิตมาเลเซีย (28.65 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,653.19 ริงกิตมาเลเซีย (28.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.22
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 901.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 943.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.45
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ปรับลดการคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลของประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2566/2567 จาก 1.85 ล้านตัน เหลือ 1.80 ล้านตัน เนื่องจากฟิลิปปินส์มีโรงงานน้ำตาลที่ปิดตัวลง ซึ่งส่งผลให้ต้องนำเข้าน้ำตาลดิบ 257,000 ตัน และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 150,000 ตัน โดยคาดการณ์ว่า ฟิลิปปินส์จะมีน้ำตาลไม่เพียงพอส่งออกสำหรับโควตา TRQ ของสหรัฐอเมริกา จำนวน 145,000 ตันเป็นปีที่สามติดต่อกัน
          - Safras & Mercado ตั้งข้อสังเกตว่า ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิล เริ่มมีฝนตกเร็วกว่าปกติหนึ่งเดือน และส่งผลกระทบต่อค่าน้ำตาลในอ้อย (ATR) ของเดือนกันยายน 2566 โดยคาดการณ์ว่า ฝนในช่วงเดือนตุลาคมจะส่งผลให้ค่า ATR ลดลงเช่นกัน ซึ่งอาจลดลงเหลือ 145 กิโลกรัม/ตัน เมื่อสิ้นสุดฤดูการหีบ ด้านสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (Inmet) ของบราซิล คาดการณ์ว่าปริมาณฝนในช่วงเดือนตุลาคมของภาคกลาง – ตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
          - รายงานกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ประเทศอินเดียจะมีผลผลิตน้ำตาลทรายขาว                  อยู่ที่ 33.6 ล้านตัน ในปี 2566/2567 ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศของอินเดีย และไม่เพียงพอที่จะนำไปผลิตเอทานอล ในทางตรงข้าม ประธานของบริษัทวิจัย AgriMandi.live เชื่อว่าอินเดียจะมีผลผลิตน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่ 30.4 ล้านตัน หลังจากที่นำไปผลิตเอทานอลจำนวน 4.85 ล้านตัน และกล่าวเสริมว่า ความต้องการปริโภคน้ำตาลของอินเดียอยู่ที่ประมาณ 28.1 ล้านตัน และปริมาณน้ำตาลคงเหลือในสต๊อกของอินเดียที่ 5.7 ล้านตัน จึงคาดว่าอินเดียจะมีน้ำตาลเพียงพอ



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.87 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,273.84 เซนต์ (17.38 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,295.76 เซนต์ (17.22 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 368.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 388.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.58 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 58.64 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.13
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.56
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 955.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 969.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 817.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 830.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,339.60 ดอลลาร์สหรัฐ (49.20 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,331.40 ดอลลาร์สหรัฐ (48.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 913.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,059.40 ดอลลาร์สหรัฐ (38.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,103.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.99 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.83 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,941  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,921  บาท คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,380 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,341 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 908 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 899 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  65.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.73 คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.09 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 63.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.25 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,200 บาท ลดลงจากตัวละ 1,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 371 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 384 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 410 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.84 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 81.67 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.73 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 2 - 8 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา